วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โครงการพัฒนาความฉลาด   4     ด้าน
สำหรับวัยรุ่นไทย
ปีการศึกษา    2553



โรงเรียนแกศึกษาพัฒนา
ตำบลแก  อำเภอรัตนบุรี
เครือข่ายโรงเรียนมัธยมศึกษาที่  3
สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา   เขต  33

ความเป็นมา
จากที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น  กรมสุขภาพจิต ได้จัดโครงการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย    IQ   และ  EQ   และได้คัดเลือกโรงเรียนแกศึกษาพัฒนา  เป็นตัวแทนภาคอีสานเพื่อเข้าร่วมโครงการในปี  2553  ทำให้นักเรียนได้รับโอกาสดี  ไปเข้าค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความฉลาด 4 ด้าน สำหรับวัยรุ่นไทย ณ โรงแรมเวียนนาการ์เด้นท์รีสอด จ.นครราชสีมา  ระหว่างวันที่  14-16 พฤษภาคม  2553  ในการประชุมดังกล่าว  ได้ส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์  โดยจัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อเตรียมการจัดการโครงการจิตอาสา  เพื่อสร้างเครือข่ายเด็กและเยาวชนพัฒนาความฉลาด  4  ด้าน  ในเดือนกรกฎาคม  2553   โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนแกนนำที่ผ่านการอบรมดังกล่าว  ได้นำความรู้ที่ได้มาใช้ในการจัดกิจกรรม  เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันภายใต้ความฉลาดทั้ง  4  ด้าน  คือ  ฉลาดคิด  ฉลาดทำ  ฉลาดสัมพันธ์   และฉลาดใจ

วัตถุประสงค์
1.      เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างนักเรียนได้ใช้ความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะ  และอยากถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาสติปัญญาวัยรุ่นไทย เรื่อง  การจัดค่ายเยาวชนเด็กสร้างเครือข่ายพัฒนาความฉลาด 4 ด้าน สำหรับวัยรุ่นไทย
2.      เพื่อขยายโอกาสให้นักเรียนคนอื่น ๆ  เข้ารับการฝึกอบรมและทางด้านการพัฒนาความฉลาด 4 ด้าน
3.      เพื่อพัฒนาให้นักเรียนรู้จักกระบวนการทำงาน  เกิดภาวะผู้นำ  ความรับผิดชอบ และมีจิตอาสางานต่างๆ




นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม  ระดมความคิด

วิธีดำเนินการ 
                ค่ายที่   1  ระหว่างวันที่  10-14  กุมภาพันธ์  2553    โดย คัดเลือกตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จำนวน   12  คน  ซึ่งเป็นครูในโรงเรียนแกศึกษาพัฒนา  จำนวน   6   คน  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์  2  คน  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอรัตนบุรี    จำนวน  3  คน  และเจ้าสาธารณสุขตำบลแก   จำนวน  1  คน   รวมทั้งสิ้น   6  คน  เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการการเป็นวิทยากรค่ายพัฒนาความฉลาด  4   ด้าน  ร่วมกับภาคอื่น     อีก  3   ภาค 
                ค่ายที่   2     ระหว่างวันที่  14-16  พฤษภาคม  2553
     โดยคัดเลือกนักเรียนในโรงเรียนที่มีอายุระหว่าง15 -  17  ปี  ที่ผ่านการประเมิน  EQ  เพื่อคัดกรองนักเรียนในกลุ่มปกติ  เข้าค่ายนี้  จำนวน  50  คน  โดยมีวิทยากรที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการจากค่ายที่  1  เป็นผู้ดำเนินการจัดค่าย
                ค่ายที่   3   ระหว่างวันที่  30 มิถุนายน ถึง 2 กรกฎาคม 2553      โดยคัดเลือกนักเรียน อายุระหว่าง 15 -  17  ปี   ที่ผ่านการประเมิน  EQ  เพื่อคัดกรองนักเรียนในกลุ่มปกติ  เข้าค่ายนี้  จำนวน  30  คน     จากโรงเรียนแกศึกษาพัฒนา    จำนวน   20  คน  และโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการ  คือ   โรงเรียนบ้านดงเปือย(มูลศึกษาวิทยา)     จำนวน   10   คน    โดยมีนักเรียนแกนนำกลุ่มจิตอาสาที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการจากค่ายที่  2  เป็นผู้ดำเนินการจัดค่าย


วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ

ใช้กระบวนการกลุ่มในการจัดทำและแก้ปัญหา  ซึ่งมีเนื้อหาสาระดังนี้
·        การรู้จักตนเองและเป้าหมายของชีวิต
·        การเรียนรู้เกี่ยวกับความฉลาด  4  ด้าน  พร้อมสัญลักษ์ 
·        พลังการดูแลกัน
·        มหัศจรรย์แห่งลมหายใจ
·         กิจกรรม Walk   rally
·        ความสุขที่แท้
·        พลังความคิดสร้างสรรค์
·        ความกตัญญูและการวางแผนชีวิต
·        กิจกรรมจิตอาสา
        โดยใช้นวั๖กรรม/เทคโนโลยี



**  Innovation   I
  **  Innovation   II


ผลการดำเนินงาน

              เกิดกระบวนการกลุ่ม  เพื่อทำกิจกรรมจิตอาสา  ทั้งหมด   5  กิจกรรม  คือ
1.  กิจกรรมค่ายเด็กเยาวชนสร้างเครือข่ายพัฒนาความฉลาด  4  ด้าน 
2.  กิจกรรมครูอาสา  สอนนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
3.  กิจกรรมปลูกป่าลดภาวะโลกร้อน
4.  กิจกรรมชวนน้องเข้าวัด
5.  กิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย
จากกิจกรรมจิตอาสา  ทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ดังนี้
ด้านคุณธรรม  จริยธรรม   นักเรียน   มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น  รู้จักคิดวิเคราะห์แยกแยะสิ่งที่ควรปฏิบัติและสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา   มีความละอาย  มีจิตสำนึกอาสามากขึ้น  ความเห็นได้ตัวลดลง  ซึ่งมาจากการปรับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน กล่าวคือ    คณะกรรมการเครือข่ายโรงเรียน   เครือข่ายห้องเรียน     สภากรรมการนักเรียน    คณะสีต่าง ๆ ให้เฝ้าระวังและ
ดูแลกันเองช่วยเหลือฝ่ายปกครองของโรงเรียน
              ด้านกระบวนการคิดแก้ปัญหา     นักเรียนและครูใช้กระบวนการกลุ่มในการเรียนการสอนและการปฏิบัติงาน   โดยออกแบบให้แต่ละกลุ่มได้ร่วมกันคิด  วิเคราะห์   วางแผน  ปฏิบัติงาน  ประเมินผลพร้อมการสรุปผลการปฏิบัติงานเอง   หลากหลายวิธีการ  โดยครูเป็นที่ปรึกษา       ทำให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นขยันหมั่นเพียรทำกิจกรรมมากขึ้น  กล้าแสดงออกมากขึ้น  เพราะได้คิดเอง   ทำเอง   แก้ปัญหาเอง 

นักเรียนได้ฝึกการเป็นผู้นำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น