วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

แนวคิดทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์ (The contingency approach)

ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์นั้นเป็นแนวคิดการบริหารจัดการที่ผู้บริหารจะปฏิบัติซึ่ง
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ หรือเป็นแนวคิดซึ่งเป็นทางเลือกของผู้บริหารในการกำหนดโครงสร้างและระบบควบคุมองค์การ โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์และลักษณะต่าง ๆ ของสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การ หรือเป็นวิธีการที่กล่าวถึงองค์การที่มีลักษณะแตกต่างกันซึ่งต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และต้องใช้วิธีการบริหารจัดการที่แตกต่างกันด้วย ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์เป็นการประสมประสานแนวคิดในการบริหารจัดการที่สำคัญ 4 ประการคือ (1) แนวคิดแบบดั้งเดิม (2) แนวคิดเชิงพฤติกรรม (3) แนวคิดเชิงปริมาณ (4) แนวคิดเชิงระบบ
[1][1]ทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์และกรณี (Contingency Theory) เริ่มมีบทบาทประมาณปลายปี ค.ศ.1960 เป็นทฤษฎีที่พัฒนามาจากความคิดอิสระ ที่ว่าองค์การที่เหมาะสมที่สุดควรจะเป็นองค์การที่มีโครงสร้างและระบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และสภาพความเป็นจริงขององค์การ ตั้งอยู่บนพื้นฐานการศึกษาสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของมนุษย์ (Humanistic Environment)  ทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์และกรณีนี้มีอิสระมาก โดยมีธรรมชาติ (Natural) เป็นตัวแปรและเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดรูปแบบ กฎเกณฑ์ และระเบียบแบบแผน มีลักษณะเป็นเหตุเป็นผลและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง สภาพแวดล้อม เป้าหมายขององค์การโดยส่วนรวมและเป้าหมายของสมาชิกทุกคนในองค์การ โดยมีข้อสมมติฐานว่า องค์การที่เหมาะสมที่สุดคือ องค์การที่มีโครงสร้างและรูปแบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของสังคมนั้น ๆ ซึ่งรวมถึงสภาพภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ การสนับสนุน และความต้องการของสมาชิกในองค์การนั้นด้วย
   บุคคลที่กำหนดชื่อทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์ และกรณีคือ Fiedler นอกจากนั้นก็มี Woodward, Lawrence และ Lorsch ได้ทำการวิจัยศึกษาเรื่องนี้
                  [2][2]การบริหารตามสถานการณ์ เป็นแนวคิดที่ว่าไม่มีทฤษฎีหรือวิธีการทางการบริหารวิธีใดที่จะนำไปใช้ได้ทุกสถานการณ์หรือไม่มีรูปแบบการบริหารแบบใดดีที่สุด การบริหารแต่ละแบบและแต่ละวิธีจะก่อให้เกิดผลแตกต่างกันตามสภาวแวดล้อมแต่ละอย่าง  การเลือกแบบใดให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เพราะแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อจำกัดอยู่ในตัว การบริหารที่มีประสิทธิภาพจะให้ความสำคัญต่อการเลือกใช้การจัดการให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ที่เกิดกับปัญหาแต่ละปัญหา มีความเชี่ยวชาญที่จะจำแนกวิเคราะห์ และแก้ไขแต่ละสถานการณ์ ซึ่งเป็นความจริงว่าปัญหาแต่ละเรื่องมีสถานการณ์แตกต่างกัน ทำให้การบริหารเป็นเรื่องที่ยากและไม่มีข้อตายตัว แนวความคิดของการบริหารตามสถานการณ์จึงถือเอาความสัมพันธ์ต่าง ๆ เป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ของปัจจัยในองค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนอกองค์กรและความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสภาพแวดล้อม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ  การจัดการวิธีนี้มีใช้กันในหลายองค์การ  โดยพิจารณาว่า  “IF-THEN”  ถ้าสถานการณ์เป็นเช่นนั้น  แล้วจึงเลือกกลวิธีที่คิดว่าเหมาะสมกับสถานการณ์นั้น 
[3][3]การบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) การบริหารในยุคนี้ค่อนข้างเป็นปัจจุบัน ปรัชญาของการบริหารเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากการมองการบริหารในเชิงปรัชญา ไปสู่การมองการบริหารในเชิงสภาพข้อเท็จจริง เนื่องจากในปัจจุบันมนุษย์ต้องประสบกับปัญหาอยู่เสมอ
แนวความคิด
ในปี 1967 Fred E.Fiedler ได้เสนอแนวความคิดการบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) ซึ่งถือเป็นทฤษฎีการบริหารที่ขึ้นอยู่กับในเชิงสภาพข้อเท็จจริงด้วยแนวคิดที่ว่าการเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด หากแต่สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะหยิบใช้การบริหารแบบใดในสภาวการณ์เช่นนั้น หลักคิดง่ายๆ ของการบริหารเชิงสถานการณ์ นั้นถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์  สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม และผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด โดยเป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระบบว่าทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์ และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน คือมุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ สถานการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงหลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ

การบริหารเชิงสถานการณ์จะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลใน
หน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย โดยเน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร หรือความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น

สรุปหลักการของการบริหารโดยสถานการณ์
1.      ถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
2.      ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด
3.   เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระะบบปิดและระบบเปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีระหว่างทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
4.      สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ และรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม
5.   คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย
6.      เน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน เช่น
§         ความแตกต่างระหว่างบุคคล
§         ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน เป็นต้น
§         ความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร
§         ความแตกต่างระหว่างเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ เป็นต้น
[4][4]แนวความคิดทางการบริหารเชิงสถานการณ์ สามารถนำทฤษฎีของ Fiedler มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งทฤษฎีนี้ได้กล่าวไว้ มี 2 ลักษณะดังนี้
1. การศึกษารูปแบบของผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์ (Relationship-oriented leader) เป็นผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ผู้นำจะสร้างความไว้วางใจ ความเคารพนับถือ และรับฟังความต้องการของพนักงาน เป็นผู้นำที่คำนึงถึงผู้อื่นเป็นหลัก (Consideration)
2.  ผู้นำที่มุ่งงาน (Task -oriented leader) เป็นผู้นำที่มุ่งความสำเร็จในงาน ซึ่งจะกำหนดทิศทางและมาตรฐานในการทำงานไว้อย่างชัดเจน มีลักษณะคล้ายกับผู้นำแบบที่คำนึงถึงตัวเองเป็นหลัก (Initiating structure style)

การบริหารเชิงสถานการณ์ สามารถใช้ทุกทฤษฎีมาประกอบกับประสบการณ์ เพื่อทำให้การตัดสินใจดีที่สุด โดยเฉพาะในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันสูงเช่นปัจจุบัน นับเป็นความท้าทายและโอกาสในการใช้การบริหารเชิงสถานการณ์ในมุมของผู้บริหารที่จะพลิกวิกฤติเป็นโอกาสให้ได้ เป็นการใช้ความรู้ความสามารถทั้งศาสตร์และศิลป์ต่างๆที่มีอยู่ในตัวผู้นำท่านนั้นให้ประจักษ์ออกมาใช้ได้อย่างเต็มสมรรถภาพจริงๆที่เขามีอยู่ เพราะสถานการณ์แต่ละอย่างแตกต่างกัน ทฤษฎีกับบางสถานการณ์ก็แตกต่างกัน แล้วแต่ผู้นำแต่ละท่านจะเลือกใช้ ดังนั้นการบริหารเชิงสถานการณ์ น่าจะเป็นการใช้ความรู้ความสามารถทั้งศาสตร์และศิลป์

[5][5]ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์ ( Contingency Approach ) องค์การไม่ได้เหมือนกันทุกองค์การ ปัญหามักจะเกิดขึ้นเมื่อองค์การมีการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันในกรณีของการบริหารจัดการแบบวิทยาศาสตร์และหลักการบริหารจัดการที่พยายามออกแบบองค์การทั้งหมดให้มีความเหมือนกัน อย่างไรก็ตามโครงสร้างและระบบของการทำงานในแต่ละฝ่ายนั้นก็ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในระบบการผลิตได้ทั้งหมด จำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ เช่นในปัจจุบันผู้บริหารจำนวนมากออกแบบองค์การใหม่เรียกว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ ที่จะคอยสนับสนุนให้เกิดการสื่อสารและความร่วมมือกัน ดังนั้นทุกคนจะกำหนดและร่วมกันแก้ปัญหา ทำให้องค์การสามารถดำเนินงานไปได้อย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงและมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
แนวคิดทางการบริหารเชิงสถานการณ์ เป็นแนวคิดที่เน้นผู้บริหารให้ความสนใจกับสภาพแวดล้อมในสถานการณ์ต่าง ๆ   ขององค์การ   ตัวแปรต่าง ๆ   ในแต่ละสถานการณ์ทางการบริหารมีความแตกต่างกันไปในแต่ละองค์การ   ดังนั้น   ผู้บริหารควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการตัดสินใจดำเนินงานภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์การและความพึงพอใจของพนักงาน   กล่าวคือแนวคิดการบริหารเชิงสถานการณ์ย่อมมีวิถีทางที่ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมทางการบริหารที่เหมาะสมกับแต่ละองค์การไม่มีวิธีแก้ปัญหาได้ดีที่สุดวิธีเดียว หรือแก้ปัญหาด้วยวิธีเดียวกันหากแต่มีหลากหลายวิธีในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การ

ที่มา  http://www.kroobannok.com/blog/20420

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โครงการพัฒนาความฉลาด   4     ด้าน
สำหรับวัยรุ่นไทย
ปีการศึกษา    2553



โรงเรียนแกศึกษาพัฒนา
ตำบลแก  อำเภอรัตนบุรี
เครือข่ายโรงเรียนมัธยมศึกษาที่  3
สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา   เขต  33

ความเป็นมา
จากที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น  กรมสุขภาพจิต ได้จัดโครงการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย    IQ   และ  EQ   และได้คัดเลือกโรงเรียนแกศึกษาพัฒนา  เป็นตัวแทนภาคอีสานเพื่อเข้าร่วมโครงการในปี  2553  ทำให้นักเรียนได้รับโอกาสดี  ไปเข้าค่ายอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความฉลาด 4 ด้าน สำหรับวัยรุ่นไทย ณ โรงแรมเวียนนาการ์เด้นท์รีสอด จ.นครราชสีมา  ระหว่างวันที่  14-16 พฤษภาคม  2553  ในการประชุมดังกล่าว  ได้ส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์  โดยจัดให้มีการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อเตรียมการจัดการโครงการจิตอาสา  เพื่อสร้างเครือข่ายเด็กและเยาวชนพัฒนาความฉลาด  4  ด้าน  ในเดือนกรกฎาคม  2553   โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนแกนนำที่ผ่านการอบรมดังกล่าว  ได้นำความรู้ที่ได้มาใช้ในการจัดกิจกรรม  เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันภายใต้ความฉลาดทั้ง  4  ด้าน  คือ  ฉลาดคิด  ฉลาดทำ  ฉลาดสัมพันธ์   และฉลาดใจ

วัตถุประสงค์
1.      เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างนักเรียนได้ใช้ความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะ  และอยากถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาสติปัญญาวัยรุ่นไทย เรื่อง  การจัดค่ายเยาวชนเด็กสร้างเครือข่ายพัฒนาความฉลาด 4 ด้าน สำหรับวัยรุ่นไทย
2.      เพื่อขยายโอกาสให้นักเรียนคนอื่น ๆ  เข้ารับการฝึกอบรมและทางด้านการพัฒนาความฉลาด 4 ด้าน
3.      เพื่อพัฒนาให้นักเรียนรู้จักกระบวนการทำงาน  เกิดภาวะผู้นำ  ความรับผิดชอบ และมีจิตอาสางานต่างๆ




นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม  ระดมความคิด

วิธีดำเนินการ 
                ค่ายที่   1  ระหว่างวันที่  10-14  กุมภาพันธ์  2553    โดย คัดเลือกตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จำนวน   12  คน  ซึ่งเป็นครูในโรงเรียนแกศึกษาพัฒนา  จำนวน   6   คน  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์  2  คน  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอรัตนบุรี    จำนวน  3  คน  และเจ้าสาธารณสุขตำบลแก   จำนวน  1  คน   รวมทั้งสิ้น   6  คน  เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการการเป็นวิทยากรค่ายพัฒนาความฉลาด  4   ด้าน  ร่วมกับภาคอื่น     อีก  3   ภาค 
                ค่ายที่   2     ระหว่างวันที่  14-16  พฤษภาคม  2553
     โดยคัดเลือกนักเรียนในโรงเรียนที่มีอายุระหว่าง15 -  17  ปี  ที่ผ่านการประเมิน  EQ  เพื่อคัดกรองนักเรียนในกลุ่มปกติ  เข้าค่ายนี้  จำนวน  50  คน  โดยมีวิทยากรที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการจากค่ายที่  1  เป็นผู้ดำเนินการจัดค่าย
                ค่ายที่   3   ระหว่างวันที่  30 มิถุนายน ถึง 2 กรกฎาคม 2553      โดยคัดเลือกนักเรียน อายุระหว่าง 15 -  17  ปี   ที่ผ่านการประเมิน  EQ  เพื่อคัดกรองนักเรียนในกลุ่มปกติ  เข้าค่ายนี้  จำนวน  30  คน     จากโรงเรียนแกศึกษาพัฒนา    จำนวน   20  คน  และโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการ  คือ   โรงเรียนบ้านดงเปือย(มูลศึกษาวิทยา)     จำนวน   10   คน    โดยมีนักเรียนแกนนำกลุ่มจิตอาสาที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการจากค่ายที่  2  เป็นผู้ดำเนินการจัดค่าย


วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ

ใช้กระบวนการกลุ่มในการจัดทำและแก้ปัญหา  ซึ่งมีเนื้อหาสาระดังนี้
·        การรู้จักตนเองและเป้าหมายของชีวิต
·        การเรียนรู้เกี่ยวกับความฉลาด  4  ด้าน  พร้อมสัญลักษ์ 
·        พลังการดูแลกัน
·        มหัศจรรย์แห่งลมหายใจ
·         กิจกรรม Walk   rally
·        ความสุขที่แท้
·        พลังความคิดสร้างสรรค์
·        ความกตัญญูและการวางแผนชีวิต
·        กิจกรรมจิตอาสา
        โดยใช้นวั๖กรรม/เทคโนโลยี



**  Innovation   I
  **  Innovation   II


ผลการดำเนินงาน

              เกิดกระบวนการกลุ่ม  เพื่อทำกิจกรรมจิตอาสา  ทั้งหมด   5  กิจกรรม  คือ
1.  กิจกรรมค่ายเด็กเยาวชนสร้างเครือข่ายพัฒนาความฉลาด  4  ด้าน 
2.  กิจกรรมครูอาสา  สอนนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
3.  กิจกรรมปลูกป่าลดภาวะโลกร้อน
4.  กิจกรรมชวนน้องเข้าวัด
5.  กิจกรรมกำจัดลูกน้ำยุงลาย
จากกิจกรรมจิตอาสา  ทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ดังนี้
ด้านคุณธรรม  จริยธรรม   นักเรียน   มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น  รู้จักคิดวิเคราะห์แยกแยะสิ่งที่ควรปฏิบัติและสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา   มีความละอาย  มีจิตสำนึกอาสามากขึ้น  ความเห็นได้ตัวลดลง  ซึ่งมาจากการปรับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน กล่าวคือ    คณะกรรมการเครือข่ายโรงเรียน   เครือข่ายห้องเรียน     สภากรรมการนักเรียน    คณะสีต่าง ๆ ให้เฝ้าระวังและ
ดูแลกันเองช่วยเหลือฝ่ายปกครองของโรงเรียน
              ด้านกระบวนการคิดแก้ปัญหา     นักเรียนและครูใช้กระบวนการกลุ่มในการเรียนการสอนและการปฏิบัติงาน   โดยออกแบบให้แต่ละกลุ่มได้ร่วมกันคิด  วิเคราะห์   วางแผน  ปฏิบัติงาน  ประเมินผลพร้อมการสรุปผลการปฏิบัติงานเอง   หลากหลายวิธีการ  โดยครูเป็นที่ปรึกษา       ทำให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นขยันหมั่นเพียรทำกิจกรรมมากขึ้น  กล้าแสดงออกมากขึ้น  เพราะได้คิดเอง   ทำเอง   แก้ปัญหาเอง 

นักเรียนได้ฝึกการเป็นผู้นำ

ประวัติ วัน คริสต์มาส

คริสต์มาส คือ การฉลองการบังเกิดของพระเยซูที่เราเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม
คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณ
ว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า"
คำว่า "Christes Maesse" พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษในปี 1038
และคำนี้ก็ได้แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ในภาษาไทย "คริสต์มาส" ก็มีความหมาย
เช่นกัน คำว่า "มาส" แปลว่า "เดือน"
เทศกาลคริสต์มาสจึง เป็นเดือนที่เราระลึกถึงพระเยซูคริสต์เจ้าเป็นพิเศษ
คำว่า"มาส" คือ"ดวงจันทร์" ตีความหมายในภาษาไทยคือพระเยซูทรงเป็นความสว่างของโลก
เหมือนดวงจันทร์ เป็นความสว่างในตอนกลางคืน Merry X'mas คำว่า Merry
ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า"สันติสุขและความสงบทางใจ" คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น
ขอให้เขาได้รับสันติสุขและความสงบทางใจ ถือเอาประเพณีของชนในท้องถิ่นนั้น
มาประยุกต์เข้ากับศาสนา โดยจัดให้มีการฉลองเพื่อระลึก ถึงการบังเกิดของพระเยซู
ที่เขายกย่องเหมือนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งสากลโลก ผู้ทรงเกียรติเลอเลิศประเพณี นี้
ได้เริ่มมาจากรุงโรมในศตวรรษ ที่ 4 และ ค่อยๆ เผยแพร่ไปทุกทวีป

เทคนิคจำศัพท์ภาษาอังกฤษ

ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลางที่มีความจำเป็น เนื่องจากมีบทบาทต่อผู้คนในหลากหลายอาชีพ รวมไปถึงน้อง ๆ นักศึกษาที่หลายหลักสูตรต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐาน ส่วนใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับการจำคำศัพท์ 'เกร็ดน่ารู้ Edutainment Zone' มีเทคนิคช่วยจำมาฝาก

จัดศัพท์เป็นหมวดหมู่ เช่น คำที่มีความสัมพันธ์กัน หรือมีความหมายตรงข้ามกัน จะช่วยให้จำศัพท์ได้ง่ายขึ้น อาจจดบันทึกใส่สมุดที่พกพาได้ เพื่อความสะดวกเมื่อต้องหยิบมาท่องในเวลาว่าง

นำศัพท์มาใช้บ่อย ๆ ทำให้เกิดความเคยชิน จะจำได้แม่นยำขึ้น จากนั้นลองแต่งประโยคจากคำเหล่านั้น เพื่อฝึกการเรียบเรียงประโยค

จำศัพท์จากการออกเสียง อาทิ คำที่ออกเสียงคล้าย ๆ กัน นอกจากจะช่วยให้นึกถึงความหมายได้ง่ายแล้ว ยังได้รู้หลักการออกเสียงที่ถูกต้อง

ท่องศัพท์ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 10 คำ และหมั่นทบทวนบ่อย ๆ ให้คุ้นเคย หากมีโอกาสสนทนากับคนพูดภาษาอังกฤษ ควรลองนำศัพท์ไปใช้ในสถานการณ์จริง

ฝึกฟัง-อ่านภาษาอังกฤษจากข่าวหรือหนังสือต่าง ๆ แล้วสังเกตหาศัพท์ที่เคยท่อง จะช่วยให้เข้าใจเรื่องราวโดยรวมของเรื่องที่อ่านได้เร็วขึ้น

หลักการจำที่สำคัญอีกประการ คงต้องอยู่ที่ความขยันและความสม่ำเสมอในการท่อง เพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่ได้ผล.

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ประโยชน์ ตำลึง ผักสวนครัวไทย

ตำลึงผักสวนครัว รั้วกินได้ ที่มากมายด้วยสรรพคุณทั้งเป็นยาป้องกันโรค เป็นอาหารทานแล้วมีประโยชน์สูง เพราะอุดมไปด้วยสารอาหาร

สรรพคุณ

ตำลึงอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์สูง เช่น สารเบต้าแคโรทีน ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และหัวใจขาดเลือด มีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก ไนอาซิน วิตามินซีและอื่นๆ นอกจากนี้ จากการค้นคว้าของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ตำลึงมีเส้นใยอาหารที่สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ในกระเพาะอาหาร อีกด้วย สำหรับตำรายาแผนโบราณ ตำลึงถือเป็นยาเย็น ใบช่วยขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการแพ้ อักเสบ แมลงมีพิษกัดต่อย แก้แสบคัน เจ็บตา ตาแดงและตาแฉะ แก้โรคผิวหนัง และลดน้ำตาลในเลือด

ราก : แก้ดวงตาเป็นฝ้า ลดความอ้วน แก้ไข้ทุกชนิด ดับพิษทั้งปวง ฝนทาภายนอก แก้ฝีต่างๆ แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนภายใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบต่อย
ต้น : กำจัดกลิ่นตัว น้ำจากต้น รักษาเบาหวาน
เปลือกราก : เป็นยาถ่าย ยาระบาย
เถา : แก้ฝี ทำให้ฝีสุก แก้ปวดตา แก้โรคตา แก้ตาฝ้า ตาแฉะ แก้พิษอักเสบจากลูกตา ดับพิษร้อน ถอนพิษ เป็นยาโรคผิวหนัง แก้เบาหวาน
ใบ : เป็นยาพอกรักษาผิวหนัง รักษามะเร็งเพลิง แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด แก้หืด รักษาผื่นคันที่เกิดจากพิษของหมามุ้ย ตำแย บุ้งร่าน ใช้เป็นยาเขียว แก้ไข้ ดับพิษร้อน ถอนพิษทั้งปวง แก้ปวดแสบปวดร้อน ถอนพิษคูน แก้คัน แก้แมลงกัดต่อย แก้ไข้หวัด แก้พิษกาฬ แก้เริม แก้งูสวัด
ผล : แก้ฝีแดง

ทั้งห้า รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการอักเสบของหลอดลม รักษาเบาหวาน
ใช้เป็นรักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงกัดต่อย เช่น ยุงกัด ถูกตัวบุ้ง แพ้ละอองข้าว โดยเอาใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กแล้วคั้นน้ำจากใบเอามาทาบริเวณที่มีอาการพอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำบ่อยๆจนกว่าจะหาย